หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเลือกตั้งในพม่า ใสๆเห็นๆ?




คณะกรรมการสหภาพการเลือกตั้ง (ยูอีซี) ของพม่าได้ประกาศผลการเลือกตั้งทั่วไปที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีของพม่าแล้วบางส่วนตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รัฐบาลพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ-ธงชาติ






รัฐบาลทหารพม่าปรับโฉมประเทศครั้งใหญ่ รับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 พ.ย. ด้วยการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศ รวมทั้งธงชาติ เพลงชาติ และสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

จองพารา






เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า “ปราสาทพระ” มาจากคำว่า “จอง” แปลว่า วัด หรือ ปราสาท และคำว่า พารา แปลว่า พระพุทธรูป หรือ พระพุทธเจ้า การบูชาจองพารา คือ การสร้างปราสาทเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า ที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา
จากหนังสือธรรมะของชาวไทยใหญ่ เรื่อง “อลองกาเผือก” ซึ่งเป็นเรื่องราวประวัติ “อะลอง” คือ พระพุทธเจ้า ถึงเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นกาเผือก หนึ่งในสิบชาติ ก่อนมาเป็นพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า…

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับคนไทใหญ่








สมเด็จพระนเรศวรฯ กับคนไทใหญ่
เรื่องโดย : นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว

ในช่วงการสู้รบ ครั้งใหญ่บริเวณชายแดนไทย-รัฐฉาน เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๘ ที่ผ่านมา ระหว่างกองกำลังว้าแดง (UWSA-United Wa State Army) -กองพล ๑๗๑ ของเหว่ยเซียะกังที่มีเป้าหมายขึ้นยึดพื้นที่ดอยไตแลงของกองกำลังกู้ชาติไท ใหญ่ (SSA-Shan State Army) ภายใต้การนำของพันเอกเจ้ายอดศึก

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จากความคิดเห็นหนึ่งถึงรัฐฉาน





อดีตเจ้าไทยใหญ่ท่านหนึ่ง วิเคราะห์การต่อสู้เพื่อเอกราช ของคนไทยใหญ่ตลอดเวลากว่า ๕๐ ปีว่า
"สาเหตุที่คนไทยใหญ่ ยังไม่สามารถกู้ชาติได้ เพราะขาดความเป็นเอกภาพ ตั้งแต่ต่อสู้กันมา คนไทยใหญ่ ไม่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต่างคนต่างลุกขึ้นมาต่อสู้ แตกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย รวมตัวกันด้วยความลำบาก และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ภาพการต่อสู้ของชาวไทยใหญ่ไม่ชัดเจนในสายตาคนภายนอก

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รู้จักรัฐฉาน รู้จักไทยใหญ่ : รู้จักไทยใหญ่ รู้จักรัฐฉาน



รู้จักรัฐฉาน รู้จักไทยใหญ่รู้จักไทยใหญ่ รู้จักรัฐฉาน
คนที่พูดภาษาตระกูลไต หรือไท มิใช่มีเฉพาะประเทศไทย แต่มีกระจายอยู่ทั่วไปในเอเซียอาคเนย์ โดยมีอยู่ในสิบสองปันนาของจีน ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ในรัฐฉาน ในพม่า ในไทย ในลาว และเวียดนาม ด้วยเหตุที่คนตระกูลไต หรือไทเป็นกลุ่มคนที่มีมาก และอยู่ในที่ต่างกันห่างไกลกันอย่างนี้ ทำให้ภาษาพูด ภาษาเขียนผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้างตามท้องถิ่นนั้น ๆ ลักษณะการอยู่อาศัยของชนชาติตระกูลไต หรือไทมักอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ และนำเอาชื่อท้องถิ่นที่อาศัยอยู่มาใช้ต่อท้ายคำว่า "ไต หรือไท"